การ “อิศละฮ์” ประชาชาติอิสลาม เป้าหมายขบวนการอาชูรอ

205

بِسْمِ اللَهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيمِ هَذَا مَا أَوْصَي‌ بِهِ الْحُسَيْنُ بْنُ عَلِيِّ بْنِ أَبِي‌طَالِبٍ إلَي‌ أَخِيهِ مُحَمَّدٍ الْمَعْرُوفِ بِابْنِ الْحَنَفِيَّه إنَّ الْحُسَيْنَ بْنَ عَلِيٍّ يَشْهَدُ أَنْ لَا إلَهَ إلَّا اللَهُ وَحْدَهُ لَا شَرِيكَ لَهُ وَأَنَّ مُحَمَّدًا صَلَّي‌ اللَهُ عَلَيْهِ وَءَالِهِ عَبْدُهُ وَرَسُولُهُ جَآءَ بِالْحَقِّ مِنْ عِنْدِ الْحَقِّ وَأَنَّ الْجَنَّه وَالنَّارَ حَقٌّ وَأَنَّ السَّاعَه

ءَاتِيَه لَا رَيْبَ فِيهَا وَأَنَّ اللَهَ يَبْعَثُ مَنْ فِي‌ الْقُبُورِ إنِّي‌ لَمْ أَخْرُجْ أَشِرًا وَلَابَطِرًا وَلَامُفْسِدًا وَلَاظَالِمًا وَإنَّمَا خَرَجْتُ لِطَلَبِ الإصْلَاحِ فِي‌ أُمَّه جَدِّي‌

ด้วยพระนามของอัลลอฮ(ซบ) ผู้ทรงเมตตา กรุณายิ่งเสมอ อันนี้ คือ คำสั่งเสียของฮุเซน บุตรอาลี (อ.) ไปยังน้องชายของเขา มุฮัมมัด อัลฮะนาฟียะฮ์ แท้จริง ฮุเซน นั้น ขอปฏิญาณตนว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจาก อัลลอฮ์ (ซบ.) และไม่มีภาคีใดๆ สำหรับพระองค์ และขอปฏิญาณตนว่า แท้จริง มุฮัมมัด (ซล.) คือบ่าว และศาสนทูตของพระองค์ ซึ่งมาพร้อมด้วยสัจธรรม

และขอปฏิญาณว่า สวรรค์คือสัจธรรม และนรกคือสัจธรรม และวันสิ้นโลก วันแห่งการตัดสินตอบแทน มีมาแน่นอน ไม่มีความคลางแคลงสงสัยใดๆทั้งสิ้น และแท้จริงอัลลอฮ์ (ซบ.) จะทำให้ผู้ที่อยู่ในหลุมฝังศพทุกคนฟื้นคืนชีพกลับมาอีกครั้งหนึ่งอย่างแน่นอนในขณะที่ฉันลุกขึ้นต่อต้านนั้น ฉันไม่ได้ลุกขึ้นสู้เพราะการละเมิด และเป็นใหญ่ และมิได้มาเพื่อก่อความเสียหาย แท้จริง เป้าหมายในการต่อสู้ เพื่อที่จะแสดงว่า การอิศละฮ์ ในอุมมะฮ์ ของตาของฉัน”

เนื้อหาตอนต้นของสาส์น อิมามฮุเซน (อ.) ได้เพื่อพิสูจน์ความศรัทธา “อะกีดะฮ์” ที่สมบูรณ์ของตัวเอง จากนั้น จึงเข้ามาสู่หมวดหมู่ตอบโต้ข้อครหาของบรรดาศัตรู และสิ่งนี้เป็นแบบฉบับอันหนึ่งของการกล่าวหาคนดี การให้ร้ายคนดีเป็นซุนนะฮ์ (แบบฉบับ) ของบรรดาบุคคลที่ฉ้อฉลมาโดยตลอด ทุกยุคสมัยทุกๆ บรรดาศาสดาจะถูกข้อกล่าวหาอย่างมากมาย

ท่านอิมามฮุเซน (อ.) กล่าวต่อว่า “ในขณะที่ฉันลุกขึ้นต่อต้านนั้น ฉันไม่ได้ลุกขึ้นสู้เพราะการละเมิด” ความเห็นแก่ตัว ซึ่งรวมในคำๆ นี้ หรือสนองตัณหาของตัวเอง ต้องการเป็นใหญ่ ต้องการเป็นผู้นำ “และเป็นใหญ่” คือการตะกับโบร “และมิได้มาเพื่อก่อความเสียหาย”

การต่อสู้ของมนุษย์มีทุกกลุ่ม แต่อาจจะมีอุดมการณ์และเป้าหมาย ที่แตกต่างกัน บางคนต่อสู้เพื่อสนองตัณหา บางคนต่อสู้เพื่อหลอกลวง บางคนต่อสู้เพื่อเป็นใหญ่ บางคนต่อสู้เพื่อก่อความเสียหายบนหน้าแผ่นดิน บางคนต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการกดขี่ แต่ท่านอิมามฮุเซน (อ.) ปฏิเสธสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด หนึ่งในความหมายของคำว่า “مُفْسِدًا” (ก่อความเสียหาย) คือสร้างความแตกแยกในสังคม บางครั้งคนที่พูดเรื่องสัจธรรมก็จะโดนข้อหาอันนี้ ซึ่งท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) ก็เคยโดนข้อกล่าวหานี้มาแล้ว

إنَّمَا خَرَجْتُ لِطَلَبِ الإصْلَاحِ فِي‌ أُمَّه جَدِّي‌

“แท้จริง เป้าหมายในการต่อสู้ เพื่อที่จะอิศละฮ์ ในอุมมะฮ์ ของตาของฉัน” ‘อิศละฮ์’ คือการเปลี่ยนแปลง ทำของเสียให้ดี ทำสังคมให้ถูกต้อง เปลี่ยนคนชั่วให้เป็นคนดี การเปลี่ยนแปลงไปสู่ความดีงาม ภาษาอัลกุรอานเรียกว่า ‘อิศละฮ์’ ซึ่งไม่ว่าจะทำในเรื่องใด ก็เรียกว่า ‘อิศละฮ์’ ทั้งหมด

เหมือนโองการที่อยู่ในซุเราะฮ์ฮูด ตั้งแต่โองการที่ ๘๕-๙๐ ท่านศาสดาชุอัยบ์ (อ.) ต่อสู้กับประชาชาติของท่านทุกเรื่อง หยุดยั้งพวกเขาจากการตั้งภาคี เรียกร้องประชาชนสู่อัลลอฮ์ (ซบ.) ยับยั้งเรื่องการฉ้อโกงในการค้าขาย ต่อสู้ในเรื่องสังคม ปัจเจกชน ทั้งแง่เศรษฐกิจ ทั้งการเมือง การศาสนาทั้งหมด

ท่านศาสดาชุอัยบ์ (อ.) ได้พยายามที่จะเปลี่ยนแปลง แต่ได้รับการต่อต้านจากประชาชาติของเขา และหลังจากภารกิจของศาสดาชุอัยบ์ (อ.) ได้ถูกอธิบายแล้ว พระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) ก็ได้นำเอาคำพูดของศาสดาชุอัยบ์ (อ.) บันทึกในอัลกุรอานในซูเราะฮ์ฮูด โองการที่ 88 ว่า ทั้งหมดที่ทำไปนั้น ไม่ได้ต้องการอะไรเลยนอกจาก ‘อิศละฮ์’ คือ “เพื่อต้องการปฏิรูปเปลี่ยนแปลง”

ทั้งนี้ ในการอิศละฮ์นั้น มนุษย์จะต้องอิศละฮ์อย่างสุดความสามารถ ส่วนจะสำเร็จหรือไม่นั้น ไม่ใช่หน้าที่ของมนุษย์ นี่คือเหตุผลว่า ทำไมอิมามฮุเซน (อ.) จึงเลือกคำว่า ‘อิศละฮ์’
ท่านศาสดาชุอัยบ์ (อ.) บอกกับมนุษย์ทุกคนว่าจะต้องอิศละฮ์อย่างสุดความสามารถ คำพูดของศาสดาชุอัยบ์ (อ.) พระองค์ได้เอามาไว้ในอัลกุรอาน เป็น ‘กะลามุลลอฮ์’ เป็นสิ่งที่อัลลอฮ์ (ซบ.) ให้พูด

ดังนั้น เงื่อนไขหนึ่งของการอิศละฮ์ คือ จะต้องทำอย่างสุดความสามารถ เมื่อทำอย่างสุดความสามารถแล้ว ก็จงให้เข้าใจว่า ผลลัพธ์จะเป็นเช่นไรนั้นไม่ใช่หน้าที่ของมนุษย์
ศาสดาชุอัยบ์ (อ.) จึงกล่าวต่อ ว่า وَمَا تَوْفِيقِي إِلاَّ بِاللَّه ความสำเร็จไม่ใช่อยู่ที่ฉันทำ แต่ความสำเร็จอยู่ที่พระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.)عَلَيْهِ تَوَكَّلْتُ แด่พระองค์ฉันขอมอบหมาย คือจะต้องรู้ว่า ยังพระองค์ที่จะต้องกลับไป ซึ่งมีนัยยะต่างๆ มากมาย

การกระทำการ ‘อิศละฮ์’ จะต้องรู้ว่า ความสำเร็จอยู่ที่พระองค์อัลลอฮ์ (ซบ.) มาตรว่าพระองค์ประสงค์จะให้สำเร็จเพียงไหนก็จะสำเร็จเพียงนั้น อันที่จริง การ ‘อิศละฮ์’ นั้นเป็นงานที่ยิ่งใหญ่ โดยเฉพาะการ ‘อิศละฮ์’ ของศาสดา จะต้อง ‘ตะวักกัล’ ต่ออัลลอฮ์ (ซบ.) โดยบุคคลที่จะ “อิศละฮ์” ต้องรู้และรำลึกถึงการกลับคืนสู่พระองค์อยู่เสมอๆ

ดังนั้น อิมามฮุเซน (อ.) จึงได้ประกาศว่า “การลุกขึ้นมาครั้งนี้ไม่ใช่เพื่ออะไรนอกจากอิศละฮ์” ทั้งนี้จะเรียกว่า ‘อิศละฮ์’ ได้ ก็คือ การทำในสิ่งที่เสียหายให้ดีขึ้น ท่านอิมามฮุเซน (อ.) จึงใช้คำนี้ เหตุเพราะสังคมในวันนั้น ไม่มีความดีใดๆ หลงเหลืออยู่เลย ‘สัจธรรมคือสิ่งที่ไม่มีใครปฏิบัติ ความชั่วคือสิ่งที่มนุษย์ไม่ละเว้น” !!

แล้วจะมีความชั่วใดอีกหรือ ? ที่จะชั่วช้าไปกว่า การที่บุคคลผู้เป็นลูกซีนา ที่กินเหล้าเป็นนิจสิน ทำซีนาเป็นนิจสิน ได้ขึ้นมาเป็นคอลีฟะฮ์ เป็นตัวแทนของศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ซล.) เป็นตัวแทนของศาสนาของอัลลอฮ์ (ซบ.) แต่มวลมุสลิมทั้งหมดนั้นกลับนิ่งเฉย !!

อิมามฮุเซน (อ.) ได้ตอบกับ ‘มัรวาน บินฮะกัม’ และ ‘วะลีด’ เจ้าเมืองมะดีนะฮ์ว่า “อย่าได้เข้าใจผิดว่า การที่ฉันลุกขึ้นต่อสู้ เพราะฉันไม่ยอมบัยอัตเพียงเท่านั้น หากแต่จงรับรู้เถิดว่า ถึงแม้นยาซีดจะไม่บังคับให้ฉันบัยอัต ฉันก็จะลุกขึ้นสู้ เป็นหน้าที่ของฉันที่จะต้องลุกขึ้นสู้ ลุกขึ้นอิศละฮ์สภาพสังคมสมัยนั้น” อิศละฮ์อะไร? อิศละฮ์ประชาชาติ (อุมมัต) ของท่านตาของฉัน นั่นคืออิศละฮ์ ประชาชาติทั้งหมด

จากหนังสือ “ปรมัตถ์แห่งการพลี สดุดีอาชูรอ” โดยฮุจญตุลอิสลาม ซัยยิดสุไลมาน ฮุซัยนี