ที่มาของการก่อร่างของสังคม
มีคำพูดของนักสังคมสาสตร์มากมายที่เกี่ยวกับเรื่องที่ว่าทำไมมนุษย์จึงเห็นชอบกับชีวิตทางสังคม และยอมรับกฎระเบียบที่ค่อนข้างยากของมัน แต่เราสามารถระบุเป็นตัวอย่างถึงความเห็นต่างๆ ต่อไปนี้
1. บางคนเชื่อว่าความรู้สึกในความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันถูกประกอบเข้าไว้ในธรรมชาติของมนุษย์ และมนุษย์แสวงหาสังคมไปตามแรงบันดาลใจจากสัญชาตญาณนี้
2. บางคนกล่าวว่า ความกลัวต่อปัจจัยทางธรรมชาติที่น่ากลัวและสัตว์ป่า เป็นสาเหตุที่ทำให้มนุษย์หันเข้าหาชีวิตทางสังคม
3. บางคนเชื่อว่า “สัญชาติญาณของการใช้งาน” มีอยู่ในตัวมนุษย์ และทำให้เขาเข้าสู่ชีวิตทางสังคม
4. บางคนกล่าวว่า ชีวิตทางสังคมในปัจจุบันเป็นผลมาจากขนบธรรมเนียมและอุปนิสัยอันหลากหลาย ซึ่งได้นำไปสู่การก่อตัวของสังคมนี้ไปทีละน้อย
5. บางคนยอมรับถึงเรื่องพัฒนาการของความต้องการของมนุษย์ และความไม่สามารถในการสนองตอบมันได้ เป็นปัจจัยทำให้เกิดชีวิตทางสังคมของมนุษย์
6. บางคนเชื่อว่า ชีวิตทางสังคมของมนุษย์เป็นผลมาจากชีวิตในครอบครัว และค่อยๆ ขยายครอบครัวกว้างออกไป
7. และสุดท้าย บางคนกล่าวว่า การค้นพบแนวคิดนี้ที่ทำให้มนุษย์มุ่งมั่นต่อชีวิตทางสังคมมาตั้งแต่หลายล้านปีก่อนที่มนุษย์ถูกสร้างขึ้น เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะเวลาและยุคสมัยที่ล่วงเลยไปทำให้เรื่องนี้คลุมเครือ และเราไม่มีเอกสารที่พอจะหาได้เพื่อตัดสินเรื่องนี้
ถึงแม้ความคิดเห็นใหม่นี้ดูเหมือนจะมีความเป็นจริงมากกว่าความเห็นอื่นๆ และการตัดสินเกี่ยวกับสาเหตุสำคัญที่มนุษย์ให้ความสนใจต่อสังคมในอดีตไม่ใช่งานที่ง่ายดาย แต่ประการแรกสุด การดำเนินต่อไปของชีวิตทางสังคมนี้ในปัจจุบันเกิดขึ้นมาจาก “ความปรารถนาในความสมบูรณ์แบบ” และ “พัฒนาการของความต้องการของมนุษย์” และ “ความไม่สามารถในการสนองตอบมันได้”
ควรจะได้อธิบายไว้ ณ ที่นี้ว่า ในด้านหนึ่ง ความต้องการที่สัมผัสได้ของมนุษย์ประกอบไปด้วยเสื้อผ้า, อาหาร, ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค และความต้องการทางด้านจิตวิญญาณของเขาประกอบด้วย วิทยาการ, ความรู้, การฝึกฝน, การคิดริเริ่มและการทดสอบต่างๆ และความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยทางจิตวิญญาณ และความดึงดูดความรักใคร่ชอบพอจากผู้อื่นก็มีความกว้างขวางและมากมายจนเป็นไปไม่ได้ที่เขาจะสนองตอบสิ่งเหล่านี้ทั้งหมดได้ตามลำพัง ดังนั้น การจัดหาให้แก่ความต้องการแต่ละอย่างเหล่านี้ ตามธรรมชาติที่พิถีพิถันของมนุษย์ จึงควรดำเนินการโดยปัจเจกบุคคลและหมู่คณะที่มีความเชี่ยวชาญและชำนาญการในงานนั้นๆ
และในทางกลับกัน การหนีของมนุษย์จากความน่าเบื่อและจำเจของชีวิต และความต้องการชีวิตที่ดีกว่าและสมบูรณ์แบบยิ่งกว่า เป็นลักษณะของชีวิตมนุษย์ซึ่งไม่ค่อยพบในสัตว์อื่นๆ ทำให้มนุษย์เข้าร่วมชีวิตทางสังคม เพราะเป้าหมายนี้จะเป็นไปไม่ได้นอกเสียจากด้วยการสะสมเพิ่มพูนความคิด พลังอำนาจ และความสามารถที่แตกต่างกันออกไป
สองสิ่งนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้มนุษย์ดำเนินชีวิทางสังคมของเขาต่อไป
คุณค่าทางสังคม
ถึงแม้ว่าคนทุกคนจะเหมือนกันในทุกกฎระเบียบในด้านสิทธิทางสังคม และหลักการใช้ความยุติธรรมทางกฎหมายเป็นรากฐานสำคัญที่สุดของกฎหมายที่ใช้ดำเนินการ แต่การปฏิบัติตามหลักการนี้ไม่ถือว่าคุณค่าของปัจเจกบุคคลมีความเท่าเทียมกันอย่างแท้จริงในสังคม น่าจะกล่าวได้ว่า ส่วนใหญ่แล้วเนื่องมาจากการไม่สามารถหาทางอื่นได้เพื่อรักษาระเบียบวินัยและป้องกันมิให้มนุษย์นำระดับชั้นที่ทรงอิทธิพลและทรนงและการล่าอาณานิคมของมนุษย์มาใช้ในทางที่ผิด มิฉะนั้นแล้ว มันจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่าคุณค่าทางสังคมของปัจเจกบุคคลมีความแตกต่างกันอย่างมาก
ยกตัวอย่างเช่น คุณค่าที่มีอยู่ของนักวิทยาศาสตร์ที่ทรงความคิด มีบุญคุณ และมีความสามารถคนหนึ่ง ไม่เท่าเทียมกันเลยกับคนที่ไม่รู้หนังสือ ไม่ระวังตัว และชั่วร้าย แต่ถ้าเราต้องการจะพิจารณาถึงประโยชน์ในด้านสิทธิทางสังคม มันจะส่งผลในด้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งผลร้ายของมันมีมากกว่าความแตกต่างในด้านค่านิยมทางสังคม
โดยทั่วไป คุณค่าทางสังคมของปัจเจกบุคคลขึ้นอยู่กับระดับที่สังคมได้รับประโยชน์จากพวกเขา และวจนะอันทรงคุณค่าด้ายวิทยปัญญาของท่านศาสดา(ศ.) ในเรื่องนี้อาจกล่าวถึงความเป็นจริงในเรื่องนี้ ดังที่ท่านได้กล่าวไว้ว่า
“คนดีที่สุดคือคนที่สร้างคุณประโยชน์มากที่สุด” (นะฮ์ญุล ฟิซซาฮี หน้า 315)
Source: alhassanain.com