มุฮัมมัด บินยะฮ์ยา รายงานจาก มุฮัมมัด บิน อัลฮูเซน รายงานจาก มุฮัมมัด บินอีซา รายงานจาก ซอฟวาน บินยะฮ์ยา รายงานจากดาวู๊ด บินอัลฮูศัยน์ รายงานจาก อุมัร บินฮันซะละฮ์ ซึ่งกล่าวว่า
“ฉันได้ถามท่านอะบาอับดิลลาฮ์ อิมามญะอ์ฟัร อัศศอดิก (อ) ว่า มีพวกเราสองคนได้ขัดแย้งกันในเรื่องของทรัพย์สินและมรดก พวกเขาจึงได้ไปหาสุลต่าน (ผู้ปกครอง) ให้ทำการพิพากษา การกระทำเช่นนี้ ถือเป็นที่ฮาล้าล (อนุมัต) หรือไม่?”
ท่านอิมามญะอ์ฟัร ศอดิก (อ) ได้ตอบว่า ” ใครก็ตามที่ให้พวกเขาเหล่านั้นทำการพิพากษา ไม่ว่ามันจะออกมาถูกต้องหรือผิด(โมฆะ) ก็ตาม ก็เท่ากับว่าเขานั้นได้รับเอาคำสั่งและคำพิพากษา ของฏอฆูต (ทรราช)มาปฏิบัต ซึ่งการยอมรับคำพิพากษาเหล่านั้น แท้จริงแล้วมันคือการยอมรับในความเท็จเป็นโมฆะ ถึงแม้ว่ามันจะตัดสินออกมาอย่างถูกต้องก็ตาม เพราะมันคือการจำนนต่อคำตัดสินของฏอฆูต ทั้งที่พระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ) ทรงสั่งให้ทำการปฏิเสธมัน(คำพิพากษาของฏอฆูต) ดังที่พระองค์ทรงตรัสว่า
“พวกเขาเหล่านั้นต้องการที่จะให้ทรราชเป็นผู้ตัดสินทั้งที่เราได้สั่งให้ทำการปฏิเสธมัน” (ซูเราะฮ์อัลนิซาอ์ โองการที่ 60)
ฉันจึงกล่าวต่อว่า “ถ้าเช่นนั้นจะให้เราทำอย่างไหรหรือ โอ้อิมาม?”
ท่านอิมาม (อ) จึงตอบว่า “จงพิจารณาในหมู่ของพวกท่าน ผู้ใดก็ตามที่รายงานฮาดีษของเรา และรู้จักในสิ่งที่ฮาล้าล และฮารอมของเรา และเข้าใจในอะฮ์กามบทบัญญัตของเรา ก็จงยอมรับให้เขาเป็นผู้พิพากษา แท้จริงแล้ว ฉันได้กำหนดให้เขาเป็นผู้ปกครองเหนือพวกท่าน
ดังนั้นหากพวกเขาได้พิพากษาตามที่เราได้ฮุกุ่ม (พิพากษา) แต่มันกลับไม่ถูกยอมรับก็เท่ากับว่า เขาผู้นั้นไม่ให้ความสำคัญกต่อฮุกุ่มของพระผู้เป็นเจ้า และถือเป็นการปฏิเสธเรา ซึ่งการปฏิเสธเรานั้น ก็คือการปฏิเสธพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ) และมันเสมือนกับการตั้งภาคีต่อพระองค์
مُحَمَّدُ بْنُ يَحْيَى عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ الْحُسَيْنِ عَنْ مُحَمَّدِ بْنِ عِيسَى عَنْ صَفْوَانَ بْنِ يَحْيَى عَنْ دَاوُدَ بْنِ الْحُصَيْنِ عَنْ عُمَرَ بْنِ حَنْظَلَةَ قَالَ: سَأَلْتُ أَبَا عَبْدِ اللَّهِ ع- عَنْ رَجُلَيْنِ مِنْ أَصْحَابِنَا بَيْنَهُمَا مُنَازَعَةٌ فِي دَيْنٍ أَوْ مِيرَاثٍ فَتَحَاكَمَا إِلَى السُّلْطَانِ وَ إِلَى الْقُضَاةِ أَ يَحِلُّ ذَلِكَ قَالَ مَنْ تَحَاكَمَ إِلَيْهِمْ فِي حَقٍّ أَوْ بَاطِلٍ فَإِنَّمَا تَحَاكَمَ إِلَى الطَّاغُوتِ وَ مَا يَحْكُمُ لَهُ فَإِنَّمَا يَأْخُذُ سُحْتاً وَ إِنْ كَانَ حَقّاً ثَابِتاً لِأَنَّهُ أَخَذَهُ بِحُكْمِ الطَّاغُوتِ وَ قَدْ أَمَرَ اللَّهُ أَنْ يُكْفَرَ بِهِ قَالَ اللَّهُ تَعَالَى يُرِيدُونَ أَنْ يَتَحٰاكَمُوا إِلَى الطّٰاغُوتِ وَ قَدْ أُمِرُوا أَنْ يَكْفُرُوا بِهِ قُلْتُ فَكَيْفَ يَصْنَعَانِ قَالَ يَنْظُرَانِ إِلَى مَنْ كَانَ مِنْكُمْ مِمَّنْ قَدْ رَوَى حَدِيثَنَا وَ نَظَرَ فِي حَلَالِنَا وَ حَرَامِنَا وَ عَرَفَ أَحْكَامَنَا فَلْيَرْضَوْا بِهِ حَكَماً فَإِنِّي قَدْ جَعَلْتُهُ عَلَيْكُمْ حَاكِماً فَإِذَا حَكَمَ بِحُكْمِنَا فَلَمْ يَقْبَلْهُ مِنْهُ فَإِنَّمَا اسْتَخَفَّ بِحُكْمِ اللَّهِ وَ عَلَيْنَا رَدَّ وَ الرَّادُّ عَلَيْنَا الرَّادُّ عَلَى اللَّهِ وَ هُوَ عَلَى حَدِّ الشِّرْكِ بِاللَّهِ