พิธีมุหัรร็อมเป็นซุนนะฮ์หรือบิดอะฮ์ ?

149

บิดอะฮ์ بِدْعَةٌ ในทางศาสนาคืออุตริกรรมอันเป็นสิ่งที่ท่านรอซูลุลลอฮ์และบรรดาอิม่ามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์มิได้กระทำไว้ ดังที่มีหะดีษรายงานว่า

قَالَ رَسُوْلُ الله (ص) : فَإِنَّ خَيْرَ الْحَدِيْثِ كِتَابُ الله وَخَيْرَ الْهَدْيِ هَدْيُ مُحَمَّدٍ وَشَرَّ الْأُمُوْرِ مُحْدَثَاتُهَا وَكُلُّ مُحْدَثَةٍ بِدْعَةٌ وَكُلُّ بِدْعَةٍ ضَلاَلَةٌ

ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ) กล่าวว่า : แท้จริงถ้อยคำที่ดีที่สุดคือ คัมภีร์ของอัลลอฮ์ แต่ทางนำที่ดีที่สุดคือ ทางนำของมุหัมมัด และบรรดาการงานที่ชั่วที่สุดคือ บรรดาสิ่งที่อุตริทำขึ้นมาใหม่(ไม่มีในชะเราะอ์-บทบัญญัติ) และทุกสิ่งที่อุตริทำขึ้นมาใหม่นั้น เป็นบิดอะฮ์ และทุกๆ บิดอะฮ์นั้น หลงทาง

หนังสือ ซอฮีฮุล บุคอรี หะดีษที่ 6735 และหนังสือ ซอฮีฮุ มุสลิม หะดีษที่ 1435

قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ مَنْ أَحْدَثَ فِي أَمْرِنَا مَا لَيْسَ مِنْهُ فَهُوَ رَدٌّ

และท่านรอซูล(ศ) ยังกล่าวว่า : ผู้ใดที่กระทำขึ้นมาใหม่ ในการงาน (ศาสนา) ของเรานี้ กับสิ่งที่ไม่มีมาจากมัน (คือจากการงานของเรา) แล้ว สิ่งนั้นย่อมถูกปฏิเสธ

หนังสือ ซอฮีฮุล บุคอรี เล่ม 10 หะดีษที่ 2697 และหนังสือซอฮีฮุ มุสลิม เล่ม 3 หะดีษที่ 1718

ซุนนะฮ์ سُـنَّةٌ หมายถึงแบบอย่างในทางศาสนาหมายถึง 1,คำพูด 2,การกระทำ 3,การยอมรับของท่านศาสดามุฮัมมัด ซึ่งทั้งสามถูกถ่ายทอดออกมาในรูปแบบที่เราเรียกว่า อัลหะดีษ

อิสลามส่งเสริมให้ปฏิบัติตามซุนนะฮ์ บิดอะฮ์จึงมีความหมายตรงกันข้ามกับซุนนะฮ์

พิธีมุหัรร็อมมิได้เป็นงานกราบไหว้บูชาอิม่ามฮูเซน แต่เป็นงานยกย่องเชิดชูบุคคลอันเป็นที่รักของอัลลอฮ์ ดังที่อัลลอฮฺ ตะอาลาทรงตรัสว่า

وَمَن يُعَظِّمْ شَعَائِرَ اللَّهِ فَإِنَّهَا مِن تَقْوَى الْقُلُوبِ

ผู้ใดยกย่องให้เกียรติสัญลักษณ์ต่างๆของอัลลอฮ์ แท้จริงสิ่งนั้น (การยกย่องต่อสัญลักษณ์ของอัลลอฮ์ ) จะทำให้หัวใจมีความยำเกรงมากขึ้น บทอัลฮัจญ์ โองการ 32

สัญลักษณ์ شَعَائِرٌ แห่งการเคารพเชื่อฟังอัลลอฮ์มีมากมายเช่น ทำนมาซ ถือศีลอด ทำฮัจญ์ ขอดุอา อ่านกุรอ่าน และสิ่งอื่นๆที่ถูกนับว่าเป็นอิบาดะฮ์(การเคารพสักการะต่ออัลลอฮฺ)

قالَ أميرُ المُؤْمِنِيِْن (ع) : نَحْـنُ الشَّعائِرُ

ท่านอมีรุลมุอ์มินีน อะลัยฮิสสลามกล่าวว่า : พวกเราคือสัญลักษณ์ ( หนึ่งของอัลลอฮ์ )

หนังสือ มุสตัดเราะกุ สะฟีนะตุล บิฮาร เล่ม 5 หน้า 1 และยะนาบีอุลมะวัดดะฮ์ โดยเชคก็อนดูซี อัลฮานาฟี เล่ม 3 หน้า 471

นักวิชาการชีอะฮ์ผู้ทรงคุณวุฒิระดับมัรญิ๊อฺล้วนให้ความสำคัญต่อมัจญ์ลิสอาชูรอเป็น อย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงเดือนมุหัรร็อมและซอฟัร เพราะเป็นเดือนแห่งการฟื้นฟูอัลอิสลาม มุฮัมมะดีและชี้นำมุสลิมและผู้ที่มิใช่มุสลิม ให้รู้จักแยกแยะสัจธรรมออกจากความเท็จ

นักวิชาการมุสลิมมีมติตรงกันว่า หลักศรัทธาและหลักปฏิบัติต้องยึดอัลกุรอานและหะดีษเป็นหลักเกณฑ์ ดังที่อัลลอฮ์ ตะอาลาทรงตรัสว่า

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ أَطِيعُواْ اللّهَ وَأَطِيعُواْ الرَّسُولَ وَأُوْلِي الأَمْرِ مِنكُمْ فَإِن تَنَازَعْتُمْ فِي شَيْءٍ فَرُدُّوهُ إِلَى اللّهِ وَالرَّسُولِ إِن كُنتُمْ تُؤْمِنُونَ بِاللّهِ وَالْيَوْمِ الآخِرِ ذَلِكَ خَيْرٌ وَأَحْسَنُ تَأْوِيلاً

โอ้ผู้ศรัทธาทั้งหลาย ! จงเชื่อฟังอัลลอฮ์ และจงเชื่อฟังรอซูล และ(จงเชื่อฟัง)ผู้ปกครองในหมู่พวกเจ้า แต่ถ้าพวกเจ้าขัดแย้งกันในสิ่งใด ก็จงนำสิ่งนั้นกลับไปยังอัลลอฮ์ และรอซูล (คืออัลกุรอานและอัลหะดีษ) หากพวกเจ้าเป็นผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮ์และวันสิ้นโลก นั่นเป็นสิ่งที่ดียิ่งและเป็นการกลับไปที่สวยงามยิ่ง บทอัน-นิซาอ์ โองการ 59

ท่านศาสดามุฮัมมัดสั่งเสียว่า ต้องปฏิบัติตามอัลกุรอานและอะฮ์ลุลบัยต์

عَنْ زَيْدِ بْنِ ثَابِتٍ : قَالَ رَسُوْلُ اللهِ (ص) : إِنِّـيْ تَارِكٌ فِيْكُمْ خَلِيْفَتَيْنِ كِتَابَ اللهِ حَبْلٌ مَمْدُوْدٌ مَا بَيْنَ السَّمَاءِ وَ الْأَرْضِ وَ عِتْرَتِيْ أَهْلَ بَيْتِيْ وَ إِنَّهُمَا لَنْ يَتَفَرَّقَا حَتَّى يَرِدَا عَلَيَّ الْحَوْضَ
صَحِيْحُ الْجَامِعِ الصَّغِيْرِ محمد ناصر الدين الألباني حديث : 2457

ท่านเซด บินษาบิตเล่าว่า : ท่านรอซูลุลลอฮ์(ศ)กล่าวว่า : แท้จริงฉันได้มอบสองคอลีฟะฮ์ไว้ในหมู่พวกท่านคือ (1) อัลกุรอานคือเชือกที่ทอดอยู่ระหว่างชั้นฟ้าและแผ่นดิน และ (2) อิตเราะตี คืออะฮ์ลุลบัยต์ของฉัน และแท้จริงสองสิ่งนี้จะไม่แยกจากกัน จนกว่าจะกลับมาพบฉันที่สระอัลเฮาฎ์

หนังสือซอฮีฮุ ญามิอิซ-ซ่อฆีร หะดีษที่ 2457 เชคอัลบานีกล่าวว่าเป็นหะดีษซอฮี๊ฮฺ

โดยเชคอับดุลญะวาด สว่างวรรณ