ในทุกๆปีเดือนรอมฎอนจะผ่านมาและก็ผ่านไป และในทุกๆปีมุสลิมได้ทำการถือศีลอด แต่ถึงกระนั้นก็ตาม มุสลิมส่วนมากก็ยังไม่เห็นถึงคุณค่าที่ถูกต้องในการสร้างคุณลักษณะที่มีศักยภาพ ซึ่งการถือศีลอดได้มอบให้กับเขาได้มากเท่าที่ควร หลายคนอาจจะพบว่าตัวเองมีจิตวิญญาณที่ถอยกลับหลัง
เมื่อการถือศีลอดได้สิ้นสุดลง เช่นเดียวกับการเริ่มต้นของเดือนใหม่ที่มาเยือน ซึ่งจริงๆแล้วการขาดความรู้เกี่ยวกับวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการถือศีลอด แน่นอนเราก็จะไม่ได้อะไรเลยจากการอดกินอดดื่มตลอดทั้งเดือนรอมฎอน ซ้ำยังส่งผลร้ายต่อผู้ถือศีลอดเสียด้วยซ้ำ เปรียบเสมือน ยาที่ดีที่สุดอาจจะมีผลร้ายต่อผู้ป่วยได้ หากไม่ได้รับประทานตามคำแนะนำ หรือตามวิธีการใช้ที่แพทย์สั่งไว้
ดังนั้น การถือศีลอดจึงมีแนวโน้มที่จะทำให้หลายๆคน มีอาการหงุดหงิดมาก และอารมณ์ร้อนในบางครั้งคราว (เมื่อเขาถือศีลอด และเขาคาดหวังว่า จะได้ในสิ่งที่อยากได้ หรือคิดที่จะได้รับการดูแลเป็นอย่างดีจากคนอื่น โดยเฉพาะผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา และสมาชิกในครอบครัวของเขาเอง)
แต่ในความเป็นจริงแล้วการถือศีลอดที่มีจุดมุ่งหมาย เพื่อทำให้เรามีความสุขุมในการแสดงส่วนหล่อหลอมคุณลักษณะของมนุษย์ออกมา ดั่งที่ท่านอิมาม ซัยนุลอาบิดีน (อ.) ได้แสดงแบบอย่างให้กับพวกเรา
เมื่อท่านอิมาม ซัยนุลอาบิดีน (อ.) ได้บันทึกความผิดพลาดของปวงบ่าวของท่านในช่วงเดือนรอมฎอน โดยไม่ได้บอกกล่าวพวกเขาเลยในเวลานั้น และในขณะที่เดือนรอมฎอนกำลังจะสิ้นสุดลง ท่านอิมามได้ให้บ่าวมารวมกันต่อหน้าท่าน และได้ชี้แจงข้อผิดพลาดของพวกเขา ในขณะเดียวกันก็ให้อภัยแก่พวกเขา และยังอ้อนวอนยังองค์พระผู้เป็นเจ้าให้ยกโทษแก่บ่าวของท่าน แม้ว่าท่านจะให้อภัยแก่พวกเขาแล้วก็ตาม
อิมามผู้บริสุทธิ์ หรือที่เรียกว่า “อิมามมะอ์ซูม” เพียงแค่แสดงออกถึงการปฏิบัติที่เต็มไปด้วยความเมตราเช่นนี้ สามารถดึงดูดความสนใจของผู้ที่ติดตามท่าน ให้พวกเขาเหล่านั้นได้เข้าใจถึงความจริงที่ว่า พวกเขาจะต้องรับผิดชอบในวันแห่งการตัดสินในการกระทำของพวกเขาเอง
และพวกเขาต้องการ การอภัยโทษจากพระองค์ พวกเขาจะต้องยกโทษให้ผู้ใต้บังคับบัญชาของพวกเขาเช่นกัน ผู้ที่อ้างว่าเขานั้นเป็นผู้ที่อยู่ในแนวทางของท่านอิมามผู้บริสุทธิ์ทุกคน สมควรที่จะนำบทเรียนภาคปฏิบัติที่ท่านได้แสดงไว้เป็นแบบอย่างนี้ไปปฏิบัติตาม อย่างเคร่งครัดในช่วงเดือนรอมฎอนนี้
และในส่วนอื่นๆ ของการใช้ชีวิต ท่าทีของเราในการถือศีลอดควรจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจังด้วย เราควรจะต้อนรับการถือศีลอดเหมือนกับเป็นวิธีการปฏิบัติในการฟื้นฟูตัวเราเองมากกว่า อย่าคิดว่าเป็นข้อผูกมัดทางศาสนาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และรอคอยอย่างกระตือรือร้นที่จะให้ตัวเองอิสระเมื่อสิ้นเดือนรอมฎอน เพื่อที่จะกลับไปดำเนินตามวิถีทางเดิมอีกครั้งหนึ่ง
นอกเหนือจากแนวทางการปฏิบัติ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อแสวงหาความโปรดปรานจากพระเจ้า ซึ่งเป็นหลักการปฏิบัติของการอิบาดัตทั้งหมดซึ่งเป็นเจตนาขั้นพื้นฐานของศาสนาอิสลามอยู่แล้ว
การถือศีลอดยังสามารถใช้เป็นศิลาย่างเท้า เพื่อเสริมสร้างคุณสมบัติของลักษณะอุปนิสัยต่างๆ ซึ่งเป็นไปตามคำตักเตือนที่ชัดเจนของพระมาหคัมภีร์อัลกุรอานเอง ที่ว่าการถือศีลอดได้ถูกแนะนำในมุมมองที่เป็นการพัฒนาการปฏิบัติตามศาสนาของมนุษย์
ในชีวิตปัจจุบันที่มีแต่ความเร่งรีบและกระวีกระวาด คนมักจะพบว่าตัวเองไม่พร้อมที่จะต่อสู้กับความแปลกใหม่ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ถ้าหากเขายังไม่พัฒนาท่าทีที่เหมาะสมในการเผชิญหน้ากับปัญหาต่างๆที่จะมีมา ในขณะที่เราพบว่าตัวเราเองมีแต่ความผิดหวัง
และเมื่อมองไปยังทิศทางใด ที่ดูเหมือนจะยากลำบากไปเสียหมด เราหารู้ไม่ว่าเรานั้นได้มองข้าม และปล่อยปละละเลยพลังอำนาจแห่งการเสริมสร้างคุณลักษณะที่เต็มไปด้วยศักยาภาพ ที่การถือศีลอดได้มีไว้ให้แก่เราแล้ว ในทุกๆปีไปอย่างน่าเสียดาย.
รอมฎอนเป็นเดือนแห่งการถือศีลอดและการละหมาดสำหรับชาวมุสลิมทั้งมวล การถือศีลอดประกอบด้วยการบังคับใจตนจากการกิน การดื่ม ทั้งสิ้น ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนถึงดวงอาทิตย์ตกดิน ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ความสำคัญในการถือศีลอดนั้นยิ่งใหญ่กว่า
การบังคับใจตนจากการกินและดื่ม วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการถือศีลอด คือ การอบรมจิตวิญญาณภายในมนุษย์ให้ออกห่างจากการกระทำความผิดบาป และพัฒนาคุณงามความดีภายในตัวเอง ดังที่อัลกุรอานได้ประกาศไว้ว่า การถือศีลอดได้ถูกแนะนำในมุมมองที่เป็นการพัฒนาการปฏิบัติตามศาสนาภายในมนุษย์ การเจระไนการปฏิบัติตามศาสนา จะพัฒนาให้ดีขึ้นผ่านทางการถือศีลอดได้อย่างไร?
ถ้าพิจารณาถึงความสำคัญสูงสุดในข้อผูกพันของการถือศีลอด ก็เหมือนกับการปฏิบัติอิบาดัตอื่นๆ คือเพื่อแสวงหาความใกล้ชิดกับพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ) และแสวงหาความโปรดปรานและการอภัยโทษจากพระองค์ ด้วยเหตุนี้การถือศีลอดจึงเป็นการเจียระไนจิตวิญญาณ ด้วยการปฏิบัติตามศาสนา และตามหลักความเชื่อของมนุษย์
การสร้างสภาพความหิวและกระหายสำหรับตัวเอง ประการเดียวคือเป็นการเชื่อฟังพระบัญชาของพระผู้เป็นเจ้า เป็นการวัดความศรัทธาที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้าของมนุษย์ และช่วยกระตุ้นความเชื่อและศรัทธา โดยการจัดให้มันเป็นการทดสอบที่ร้ายแรง (ในทัศนะของมนุษย์) เพราะการถือศีลอดช่วยปรับปรุงให้การศรัทธาแบบไม่จริงใจ และความเชื่อต่อความโปรดปรานอันมากมายของพระเจ้าที่มนุษย์ได้รับนั้นเพิ่มพูนมากยิ่งขึ้น
การถือศีลอดได้พร่ำสอนถึงจิตวิญญาณแห่งการสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นของพระองค์ และมรรคผลของความจงรักภักดีที่มนุษย์มีต่อพระผู้เป็นเจ้าด้วยการถือศีลอด ซึ่งเป็นสิ่งที่มีค่ามากกว่าน้ำแก้วหนึ่ง และมากกว่าอาหารมื้อหนึ่งที่เพิ่มเป็นสองเท่า เมื่อมนุษย์ได้รับประทานหลังจากที่ได้ถือศีลอดมาตลอดทั้งวัน หากเทียบกับความโปรดปรานของพระองค์ที่มนุษย์จะได้รับจากการถือศีลอด
และไม่มีสิ่งอื่นใดที่มนุษย์สามารถดำรงอยู่ได้นอกจากความความโปรดปรานของพระองค์ การถือศีลอดเป็นการย้ำเตือนมนุษย์ว่า ความปลาบปลื้มยินดีที่แท้จริงในการปิติยินดีกับความโปรดปรานของพระผู้เป็นเจ้านั้น ได้ถูกกำหนดไว้ให้อยู่ในความพอประมาณและการยับยั้ง และไม่ใช่เป็นการทำตามใจชอบมากจนเกินไป