ความสำคัญของความรู้ในอิสลาม

581

เชคมันซูร ลีฆอนี

มีโลกอื่นๆ ภายนอกรอบตัวเราจริงหรือไม่ หรือมันเป็นเพียงแค่ความเพ้อฝัน? ถ้ามี เป็นไปได้แค่ไหนที่เราจะรู้จักโลกดังกล่าวนั้น(ความสามารถในการรับรู้)? เราจะหาแหล่งความรู้นั้นจากที่ไหน? จะใช้เครื่องมือใดในการได้รู้? และอะไรที่จะช่วยเสริมพื้นฐานความรู้ในตัวมนุษย์ อะไรที่จะขัดวางมนุษย์จากการได้รู้(ปัจจัยชักจูงและปัจจัยกีดขวาง)?

คำถามทั้งหมดข้างต้นคือคำถามปฐมบทแรกเริ่มที่ผุดขึ้นในใจของผู้แสวงหาสัจธรรมทุกคน สำหรับคำถามแรกนั้น มีสองแนวทางในทางปรัชญา นั่นคือ แนวคิดทางความเป็นเลิศหรือเพ้อฝัน(Idealism) และแนวคิดตามความเป็นจริง(Realism)

ตอบคำที่ง่ายที่สุดแก่นักอ้างเหตุผลลอยๆ ก็คือการบอกกับพวกเขาว่า เมื่อพวกเขาหิวหรือกระหายน้ำ ก็ไม่ควรจะกังวลใจกับกระเพาะอาหารเพราะมันเป็นเพียงแค่ความฝัน หรือบอกว่าอย่าไปสนใจสัญญาณไฟจราจรเมื่อพวกเขาจะข้ามถนน เพราะจะไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจริงๆ ในความฝัน ตามข้อเท็จจริงแล้ว นักคิดแบบเป็นเลิศหรือเพ้อฝันทั้งหมดนั้นก็เป็นนักนิยมความจริงในทางปฏิบัติ หรือไม่อย่างนั้นก็คงมีอาการป่วยทางจิต

อัล-กุรอานได้กล่าวไว้ในหลายโองการซึ่งเป็นการพิสูจน์ว่าโลกนี้เป็นโลกแห่งความเป็นจริง และให้มันเป็นสัญญาณของอัลลอฮฺ(ซ.บ.)

ความรู้ไม่มีขอบเขตจำกัด

ฮะดีษ(คำกล่าว) จากท่านศาสดา(ศ.) ที่พูดถึงความสำคัญของความรู้มีมากมาย เช่น

1. “การแสวงหาความรู้เป็นกฎข้อบังคับสำหรับมุสลิมทุกคน” (ไม่จำกัดเพศ)

2. “จงแสวงหาความรู้ตั้งแต่อยู่ในเปลจนถึงหลุมฝังศพ) (ไม่จำกัดเวลา)

3. “จงแสวงหาความรู้เถิด แม้มันจะอยู่ไกลถึงประเทศจีนก็ตาม” (ไม่จำกัดสถานที่)

4. “วิทยปัญญาคือสมบัติที่หายไปของมุสลิม ดังนั้นจงเก็บสะสมมันจากใครก็ตามที่พบว่ามีอยู่ แม้ว่าเขาจะเป็นคนกลับกลอกก็ตาม” (ไม่จำกัดครู)

ประเภทของผู้แสวงหาความรู้

1. มด : คือผู้ที่เก็บรวมรวมข้อมูลโดยไม่เสียโครงสร้างการรวมตัวกันของพวกมัน

2. แมงมุม : เก็บความรู้ของตัวเองไว้แต่ลำพัง

3. ผึ้ง : เก็บความรู้แต่ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของตัวเองผู้เดียว แต่เพื่อสังคมและมวลชนโดยการแบ่งปันและให้คุณค่าแก่ความรู้ทั้งหมด

bees

ประเภทที่สามคือหนทางที่ถูกต้องในการแสวงหาความรู้

อัล-กุรอานและความรู้

อัล-กุรอานได้ให้ความสำคัญต่อการแสวงหาความรู้ไว้อย่างมากมาย ดังจะเห็นได้จากโองการต่างๆ ดังต่อไปนี้

1.ความรู้ คือจุดมุ่งหมายของการสร้าง

“อัลลอฮฺผู้ทรงสร้าง ชั้นฟ้าทั้งเจ็ด และทรงสร้างแผ่นดินก็เยี่ยงนั้น พระบัญชาจะบงมาท่ามกลางมันทั้งหลาย (ชั้นฟ้าและแผ่นดิน) เพื่อพวกเจ้าจะได้รู้ว่า แท้จริงอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงอานุภาพเหนือทุกสิ่งอย่าง และแท้จริงอัลลอฮฺนั้นทรงห้อมล้อมทุกสิ่งอย่างไว้ด้วยความรอบรู้” (65/12)

2.ความรู้ คือจุดมุ่งหมายแห่งภารกิจของศาสดาทุกท่าน

“ดังที่เราได้ส่งร่อซูล(ศาสนทูต) ผู้หนึ่งจากพวกเจ้าเองมาในหมู่พวกเจ้า ซึ่งเขาจะอ่านบรรดาโองการของเราให้พวกเจ้าฟัง และจะทำให้พวกเจ้าสะอาดบริสุทธิ์ และจะสอนคัมภีร์ และความรู้เกี่ยวกับข้อปฏิบัติให้แก่พวกเจ้า และจะสอนพวกเจ้าในสิ่งที่พวกเจ้าไม่เคยรู้มาก่อน” (2/151)

3.ความรู้ คือจุดมุ่งหมายแห่งการประทานคัมภีร์

“คัมภีร์ (อัลกุรอาน) เราได้ประทานลงมาให้แก่เจ้าซึ่งมีความจำเริญ เพื่อพวกเขาจะได้พินิจพิจารณาโองการต่าง\ๆของอัลกุรอาน และเพื่อปวงผู้มีสติปัญญาจะได้ใคร่ครวญ” (38/29)

4.”จงอ่าน” พระดำรัสแรกของอัลลอฮฺในศาสนาอิสลาม

“จงอ่านด้วยพระนามแห่งพระเจ้าของเจ้าผู้ทรงบังเกิด ทรงบังเกิดมนุษย์จากก้อนเลือด จงอ่านเถิด และพระเจ้าของเจ้านั้นผู้ทรงใจบุญยิ่ง ผู้ทรงสอนการใช้ปากกา ผู้ทรงสอนมนุษย์ในสิ่งที่เขาไม่รู้” (96/1-5)

5.ความรู้ คือแสงสว่าง

“…..คนตาบอดกับคนตาดีจะเหมือนกันหรือ? หรือความมืดจะเหมือนกับแสงสว่างหรือ?…..” (13/16)

6.ผู้รู้เท่านั้น ที่จะรู้ความลับแห่งจักรวาล

“และหนึ่งจากสัญญาณทั้งหลายของพระองค์คือ การสร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน และความแตกต่างของภาษาของพวกเจ้าและผิวพรรณของพวกเจ้า แท้จริงในการนี้แน่นอน ย่อมเป็นสัญญาณสำหรับบรรดาผู้มีความรู้” (30/22)

univ

7.”อัลลอฮฺ” คือครูคนแรก

“และพระองค์ได้ทรงสอนบรรดานามของทั้งปวงให้แก่อาดัม…” (2/31)

8.ความรู้ ทำให้ใกล้ชิดต่ออัลลอฮฺ

“….และเมื่อมีเสียงกล่าวว่าจงลุกขึ้นยืนจากที่ชุมนุมนั้น พวกเจ้าก็จงลุกขึ้นยืน เพราะอัลลอฮฺจะทรงยกย่องเทิดเกียรติแก่บรรดาผู้ศรัทธาในหมู่พวกเจ้า และบรรดาผู้ได้รับความรู้หลายชั้น และอัลลอฮฺทรงรอบรู้ยิ่งในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ” (58/11)

9.บรรดาศาสดา เป็นผู้แสวงหาความรู้อยู่เสมอ

“…จงกล่าวเถิด ‘ข้าแต่พระเจ้าของข้า พระองค์ขอพระองค์ทรงโปรดเพิ่มพูนความรู้แก่ข้าพระองค์ด้วย'” (20/114)

10.ความรู้ คือความภาคภูมิใจ

“และโดยแน่นอนเราได้ ให้ความรู้แก่ดาวูดและสุลัยมาน และเขาทั้งสองกล่าวว่า ‘บรรดาการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮ์ ผู้ทรงโปรดปรานแก่เรา เหนือส่วนมากของปวงบ่าวของพระองค์ผู้ศรัทธาทั้งหลาย'” (27/15)

11.ความรู้ คือคุณสมบัติสำคัญของการเป็นผู้นำ

“เขากล่าวว่า “ได้โปรดแต่งตั้งฉันให้ควบคุมการคลังของประเทศ แท้จริงฉันเป็นผู้ชื่อสัตย์ผู้รู้” (12/55)

12.ความรู้ คือบ่อเกิดแห่งความศรัทธา

“ตระหนักเถิดว่า สิ่งที่ได้ถูกประทานแก่เจ้าจากพระเจ้าของเจ้านั้นเป็นสัจธรรม และจะชี้นำไปสู่แนวทางแห่งพระผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงได้รับการสรรเสริญ” (34/6)

13.ความรู้ คือบ่อเกิดแห่งความยำเกรง

“และในหมู่มนุษย์ และสัตว์ และปศุสัตว์ ก็มีหลากหลายสีเช่นเดียวกัน แท้จริง บรรดาผู้ที่มีความรู้จากปวงบ่าวของพระองค์เท่านั้นที่เกรงกลัวอัลลอฮฺ แท้จริงอัลลอฮฺ นั้นเป็นผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงอภัยเสมอ” (35/28)

14.ความรู้ คือบ่อเกิดแห่งความอดทน

“และบรรดาผู้ได้รับความรู้กล่าวว่า ‘ความวิบัติแด่พวกท่าน ! ผลบุญแห่งอัลลอฮ์นั้นย่อมดีกว่าแก่ผู้ศรัทธาและกระทำความดี และไม่มีผู้ใดได้รับมันนอกจากบรรดาผู้อดทนเท่านั้น” (28/80)

15.ความรู้ ให้ผลประโยชน์อย่างมากมาย

“พระองค์จะทรงประทาน ความรู้ให้แก่ผู้ที่พรองค์ทรงประสงค์ และผู้ใดที่ได้รับความรู้ แน่นอนเขาก็ได้รับความความดีอันมากมาย และไม่มีใครจะรำลึก นอกจากบรรดาผุ้ที่มีสติปัญญาเท่านั้น” (2/269)

16.ความโง่ นำพาไปสู่นรก

“และแน่นอนเราได้บังเกิดสำหรับนรกญฮันนัม ซึ่งมากมายจากญินและมนุษย์ ซึ่งพวกเขามีหัวใจที่พวกเขาไม่ได้ใช้มันทำความเข้าใจ และพวกเขามีตาที่พวกเขาไม่ได้ใช่มันมอง และพวกเขามีหูที่พวกเขาไม่ใช้มันฟัง ชนเหล่านี้แหละประหนึ่งปศุสัตว์ ใช่แต่เท่านั้น พวกเขาเป็นผู้หลงผิดยิ่งกว่า ชนเหล่านี้แหละพวกเขาคือผู้ทีเผลอเรอ” (7:179)

17.ความโง่ คือบ่อเกิดของความหยิ่งยะโส

“ขณะที่พวกปฏิเสธศรัทธาได้ทำให้ความหยิ่งยะโสมีขึ้นในจิตใจของพวกเขา ซึ่งเป็นความหยิ่งยะโสในสมัยแห่งความงมงาย…” (48:26)

18.ความโง่ คือที่มาของความแตกแยก

“….การเป็นศัตรูระหว่างพวกเขากันเองนั้นรุนแรงยิ่งนัก เจ้าเข้าใจว่าพวกเขารวมกันเป็นปึกแผ่นแต่(ความจริงแล้ว)จิตใจของพวกเขาแตกแยกกัน ทั้งนี้ก็เพราะว่าพวกเขาเป็นหมู่ชนที่ไม่ใช้สติปัญญาใคร่ครวญ” (59:14)

19.ความโง่ คือที่มาของความเสียหายและความเสียใจ

โอ้ศรัทธาชนทั้งหลาย ! หากคนชั่วนำข่าวใดๆ มาแจ้งแก่พวกเจ้า พวกเจ้าก็จงสอบสวนให้แน่ชัด (*1*) หาไม่แล้วพวกเจ้าก็จะก่อเคราะห์กรรมแก่พวกหนึ่งโดยไม่รู้ตัว แล้วพวกเจ้าจะกลายเป็นผู้เสียใจในสิ่งที่พวกเจ้าได้กระทำไป

20.ความโง่ คือที่มาของการมองโลกในแง่ร้าย

“….พวกเขากล่าวว่า ‘หากปรากฏว่ามีสิ่งหนึ่งสิ่งใดจากกิจการนั้นเป็นสิทธิของเราแล้วไซร้ พวกเราก็ไม่ถูกฆ่าตายที่นี่’ จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า แม้ปรากฏว่า พวกท่านอยู่ในบ้านของพวกท่านก็ตาม แน่นอนบรรดาผู้ที่การฆ่าได้ถูกกำหนดแก่พวกเขา ก็จะออกไปสู่ที่นอนตายของพวกเขา และเพื่อที่อัลลอฮ์จะทรงทดสอบสิ่งที่อยู่ในหัวอกของพวกเจ้า และอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงรอบรู้สิ่งที่อยู่หัวอกทั้งหลาย” (3:154)