ศาสดาสุลัยมาน(อ.)เข้าใจภาษานก

192

ศาสดาสุลัยมาน(อ.) เข้าใจภาษานก

อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ได้สอนศาสดาสุลัยมาน(อ.) ให้พูดภาษานกได้ และด้วยเหตุนี้เอง ท่านจึงจัดตั้งกองทัพที่มีนกเป็นส่วนหนึ่งของกองทหาร ท่านได้พัฒนาความสัมพันธ์กับพวกมันและทำให้ท่านสามารถบังคับบัญชาพวกมันได้ตามความประสงค์ของท่าน และด้วยความสำนึกว่าความสามารถนี้เกิดจากความเมตตาของอัลลอฮฺ(ซ.บ.) ท่านจึงได้อธิบายแก่ประชาชนถึงความรู้ของท่านว่ามาจากพระผู้เป็นเจ้า ไม่ใช่ด้วยความเพียรพยายามของท่านเอง ท่านได้แสดงออกถึงการยอมจำนนและการจำเป็นต้องพึ่งพิงต่อพระผู้เป็นเจ้า

“… ‘มหาชนทั้งหลายเอ๋ย ! เราได้รับความรู้ในภาษาของนก และเราได้รับทุก ๆ สิ่ง แท้จริง นี่คือความโปรดปรานอันแท้จริงแน่นอน’ ” (อัล-กุรอาน 27/16)

เราสามารถมาถึงบทสรุปที่สำคัญในเรื่องนี้ได้ดังนี้

นกสนทนาในหมู่พวกมันด้วยความยาวคลื่นพิเศษที่มนุษย์ไม่สามารถได้ยิน อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงอนุมัติให้ศาสดาสุลัยมาน(อ.) เข้าใจบทสนทนาเหล่านี้ ซึ่งอาจเป็นไปได้ด้วยวิธีการทางเทคโนโลยีก็ได้

เมื่อศาสดาสุลัยมาน(อ.) สามารถเข้าใจการสนทนาของพวกมันได้ ท่านอาจมอบหมายหน้าที่พิเศษให้พวกมันทำ(อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงรอบรู้สัจธรรม)

ศาสดาสุลัยมาน(อ.) ประสบผลสำเร็จสำคัญในการใช้งานนกทั้งในด้านการนำข่าวสารและเผยแพร่ข้อมูล ความรู้นี้ทำให้การติดต่อสื่อสารกับประเทศอื่นและไปถึงพื้นที่อันห่างไกลได้อย่างสะดวกง่ายดาย

ศาสดาสุลัยมาน(อ.) เข้าใจภาษามด

“จนกระทั่งเมื่อพวกเขาได้มาถึงทุ่งที่มีมดมาก มดตัวหนึ่งได้พูดว่า “โอ้พวกมดเอ๋ย! พวกเจ้าจงเข้าไปในรังของพวกเจ้าเถิด เพื่อว่าสุลัยมานและไพร่พลของเขาจะได้ไม่บดขยี้พวกเจ้า โดยที่พวกเขาไม่รู้ตัว” (อัล-กุรอาน 27/18)

โองการนี้อาจอธิบายความได้ดังต่อไปนี้

มดตัวเมียรู้ว่าศาสดาสุลัยมาน(อ.) และกองทัพของท่านกำลังเข้ามาในหุบเขา นี่คือการแสดงอาการรับรู้ที่สำคัญมาก ข้อเท็จจริงที่ว่ามดเหล่านี้สามารถพูดกับกลุ่มของมันและรู้ว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นรอบตัวมันอาจเป็นการชี้ให้เห็นว่าสัตว์เหล่านี้อาจเป็นญิน(สิ่งถูกสร้างคล้ายมนุษย์แต่ไร้รูป) ก็ได้(อัลลอฮฺ(ซ.บ.) ทรงรอบรู้สัจธรรม)

มดที่ถูกกล่าวถึง ณ ที่นี้ไม่ใช่มดธรรมดา เพราะหุบเขาแห่งมด เป็นการระบุถึงสถานที่พิเศษและมดพิเศษ ความแปลกประหลาดนี้อาจหมายถึงพวกมันเป็นญินก็ได้

“เขา (สุลัยมาน) ยิ้มแกมหัวเราะต่อคำพูดของมัน และกล่าวว่า ‘ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์ ขอพระองค์ทรงโปรดประทานแก่ข้าพระองค์ เพื่อให้ข้าพระองค์ขอบคุณต่อความโปรดปรานของพระองค์ท่าน ซึ่งพระองค์ท่านได้ทรงโปรดปรานแก่ข้าพระองค์ และบิดามารดาของข้าพระองค์ และให้ข้าพระองค์กระทำความดีเพื่อให้พระองค์ทรงพอพระทัยมัน และทรงให้ข้าพระองค์เข้าอยู่ในความเมตตาของพระองค์ ในหมู่ปวงบ่าวของพระองค์ที่ดีทั้งหลาย” (อัล-กุรอาน 27/19)

ความสามารถของศาสดาสุลัยมาน(อ.) ในการได้ยินเสียงมดพูดคุยกันนั้น อาจแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการที่จะเกิดขึ้นกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในยุคสุดท้าย ยุคของอิมามมะฮฺดี(อ.)