บทบาทของท่านอิมามอะลี ฮาดีย์ (อ) ต่อโลกอิสลาม

242

ท่านอิมามอะลี ฮาดีย์ (อ) ดำรงตำแหน่งผู้นำในขณะที่ท่านอายุยังน้อยอยู่เหมือนกับอิมามมุฮัมมัดญะวาด (อ) บิดาของท่าน แต่ปัญหาความสับสนในเรื่องอายุของอิมามอะลี ฮาดีย์ (อ) นั้น ไม่มีหลงเหลืออยู่อีกในยุคของท่าน เพราะว่าบรรดาชีอะฮ์ได้เข้าใจในเรื่องนี้ดีแล้วในยุคของบิดาท่าน การที่บิดาของท่านอิมามอะลี ฮาดีย์ (อ) ถูกลอบวางยาพิษจนได้รับชะฮีด (เสียชีวิตในหนทางขอพระเจ้า) จากมุอ์ตะซิม ผู้ปกครองแห่งราชวงศ์อับบาซีย์ ในขณะที่ท่านมีอายุเพียง 25 ปี ย่อมบ่งบอกได้เป็นอย่างดีว่า สถานการณ์ในยุคนั้นเป็นอย่างไร

ซึ่ง หลังจากนั้นเป็นต้นมา บรรดาอิมามของแห่งอะฮ์ลุลบัยต์อยู่ในสถานการณ์เดียวกันทั้งหมด หมายถึง ถูกบังคับขู่เข็ญ และถูกควบคุมตัวไว้อย่างใกล้ชิดจากบรรดาผู้ปกครองแห่งราชวงศ์อับบาซียะฮ์
บรรดา ผู้ปกครองแห่งราชวงศ์อับบาซียะฮ์ได้ใช้นโยบายเดียวกับผู้ปกครองมะอ์มูนอับบา ซีย์ ในการคุมตัวบรรดาอิมามแห่งอะฮ์ลุลบัยต์ที่สืบเชื้อสายมาจากท่านอิมามอะลี (อ) กับท่านหญิงฟาติมะฮ์ (อ) ด้วยการเชิญแบบบังคับให้บรรดาอิมามออกจากนครมะดีนะฮ์ ซึ่งเป็นบ้านเกิดเมืองนอน และเป็นศูนย์กลางที่สำคัญของอะฮ์ลุลบัยต์ (อ) ไปพำนักอยุ่ตามหัวเมืองที่พวกมันได้กำหนดไว้

ท่าน อิมามอะลี ฮาดีย์ (อ) ก็เช่นเดียวกันได้ถูกมุตะวักกิลอับบาซีย์ เชิญตัวแบบบังคับให้ท่านออกจากนครมะดีนะฮ์ การกระทำของฝ่ายผู้ปกครองอับบซียะฮ์นั้นย่อมบ่งบอกได้เป็นอย่างดีว่า พวกเขากังวล และระแวง ต่อการเคลื่อนไหวของท่านอิมามอะลี ฮาดีย์ (อ) ฉะนั้นพวกเขาจีงต้องควบคุมตัวท่านไว้อย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งเป็นการปิดกั้นไม่ให้ท่านอิมามอะลี อัลฮาดีย์ (อ) เคลื่อนไหวทางสังคมการเมืองได้อย่างสะดวก

ใน ยุคสมัยของท่านอิมามอะลี ฮาดีย์ (อ) ท่านอิมามไม่มีอิสระในการแสดงบทบาททางสังคมอย่างเปิดเผย ฉะนั้นท่านอิมามจึงต้องใช้วิธีการสื่อสัมพันธ์กับบรรดามิตรสหายและชีอะฮ์ของ ท่านโดย การสานต่อจากบรรดาอิมามก่อนหน้าด้วย การแต่งตั้งตัวแทนอิมามไว้ตามภูมิภาคต่างๆ ในอาณาจักรอิสลาม เช่นใน แบกแดด มะดาอิน อิรัก (กูฟะฮ์) เป็นภูมิภาคหนึ่ง แถบอะห์วาซ และบัสเราะห์ เป็นอีกภูมิภาคหนึ่ง ฮิญาซ เยเมน และอียิปต์ ก็เป็นอีกภูมิภาคหนึ่ง และในอีกหลายๆ หัวเมืองก็อยู่ในรูปแบบเช่นนี้เหมือนกัน

ตัวแทน (นาอิบุลอิมาม) เหล่านี้มีหน้าที่รวบรวมเงินทอง และทรัพย์สินที่เป็น ทรัพย์ซะกาต ทรัพย์คุมซ์ เงินบริจาค (ซอดะเกาะฮ์) ให้แก่ท่านอิมามอะลี ฮาดีย์ (อ) พร้อมทั้งมีหน้าที่ตอบปัญหานิติศาสตร์อิสลาม (ฟิกฮ์) หรือข้อข้องใจต่างๆ ในด้านความเชื่อความศรัทธา (อะกีดะฮ์) หรือแม้กระทั่งอธิบายจุดยืนของท่านอิมามอะลี ฮาดีย์ (อ) ต่อฝ่ายผู้ปกครองให้บรรดาชีอะฮ์ได้รับทราบ

วิธี การแบบนี้ ถือเป็นการสร้างระบบในการสื่อสาร และระบบการปกครองต่อบรรดาชีอะฮ์ แม้ว่าตัวท่านเองจะถูกควบคุมไว้ก็ตาม ซึ่งวิธีการนี้เป็นการมอบอำนาจหน้าที่ให้แก่ตัวแทนของท่าน ในการกำหนดทิศทางการเคลื่อนไหวของบรรดาชีอะฮ์แบบเป็นระบบ

นอก จากนี้ บรรดาตัวแทนอิมามยังมีบทบาทสำคัญในการชี้แจง และแนะนำถึงอิมามท่านต่อไป พร้อมกับสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในแถบที่เขาเป็นตัวแทนกับท่านอิมามคน ต่อไปอีกด้วย ซึ่งบางครั้งอาจจะมีตัวแทนบางคนที่หันเหออกนอกลู่นอกทาง ท่านอิมามก็จะแต่งตั้งตัวแทนคนใหม่ขึ้นแทนที่ สรุปแบบง่ายๆ ก็คือ การสร้างเครือข่ายตัวแทนถือเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญยิ่ง ซึ่งประโยชน์ที่จะได้รับจากกลยุทธ์นี้ สามารถเห็นได้อย่างชัดเจนในยุคต่อๆ มา

บทบาท ที่เห็นได้อย่างชัดเจนอีกอย่างหนึ่งในยุคของท่านอิมามอะลี ฮาดีย์ (อ) คือ การสร้างวัฒนธรรมในเรื่องของการอ่านดุอาอ์ และซิยาเราะฮ์หลังจากยุคของท่านอิมามซัยนุลอาบิดีน (อ) ท่านอิมามอะลี ฮาดีย์ (อ) มีโอกาสแสดงออกได้ถึงเรื่องการสร้างจิตวิญญาณได้อย่างเด่นชัด ซึ่งถือได้ว่าเป็นการนำพาบรรดาชีอะฮ์ไปสู่เรื่องของจิตวิญญาณที่สูงส่ง เท่ากับเป็นการสร้างบรรดาชีอะฮ์ให้ไปสู่ความสมบูรณ์แบบทุกๆ ด้าน โดย ในตัวบทดุอาอ์เหล่านั้น นอกเหนือจากวิงวอนขอพรต่อพระผู้เป็นเจ้าแล้ว ยังได้ปลูกฝังถึงความสัมพันธ์ ระหว่างผู้คนทั้งหลายกับอะฮ์ลุลบัยต์อีกด้วย คือการกล่าวเน้นย้ำถึงฐานะภาพที่แท้จริงของบรรดาอะฮ์ลุลบัยต์ และสอนให้ต่อสู้ และไม่ยอมจำนนต่อบรรดาผู้กดขี่ข่มเหง

นอก เหนือจากนี้ ท่านอิมามอะลี ฮาดีย์ (อ) ยังได้แสดงออกถึงจุดยืนที่ต่อต้านบรรดาพวกฆุลาต (พวกที่เลยเถิดทั้งคำพูดและความเชื่อเกินกว่าที่บรรดาอิมามสั่งสอนไว้) อย่างชัดแจ้ง เพราะว่า ในยุคนั้น พวกฆุลาตฉวยโอกาสที่ท่านอิมามอะลี ฮาดีย์ (อ) ถูกคุมตัวอย่างใกล้ชิดจากฝ่ายผู้ปกครองอับบาซีย์ พวกเขาจึงโฆษณาชวนเชื่อแบบบิดเบือนในเรื่องราวของท่านอิมามให้เห็นอยู่ใน สังคม

ดังนั้นท่านอิมามจึงกล่าวประณามพวกเขาในทุกครั้งที่ท่านมีโอกาส พร้อมทั้งต่อต้านความคิดอย่างรุนแรง โดยท่านอิมามได้ตอกย้ำเรื่องให้ใช้อัลกุรอานเป็นบรรทัดฐานในการตัดสินความ คิด ความเชื่อและการปฏิบัติต่าง ๆ หมายถึงหากว่ามีใครกล่าวอ้างวจนะของท่านอิมามขึ้นมา ให้นำสิ่งนั้นไปเปรียบเทียบดูกับคัมภีร์อัลกุรอาน หากว่ามันไม่สอดคล้องกับคัมภีร์อัลกุรอานก็ให้ละทิ้งวจนะดังกล่าวนั้นทันที วิธีการนี้จึงสามารถที่จะคุ้มครองบรรดาชีอะฮ์ไม่ให้ถูกพวกฆุลาตหลอกลวงได้

อิมามอะลี ฮาดีย์ (อ) สาปแช่งพวกเลยเถิดทางความเชื่อ (ฆุลาต)