การต่อสู้กับความยากจน

234

ฉันได้ถามแก่ท่านอิมามอะลี (อ) ว่า “โอ้อิมาม โอ้ผู้นำแห่งความยุติธรรม โอ้ผู้ช่วยเหลือผู้อ่อนแอทั้งหลาย เมื่อใดก็ตามที่เราตกอยู่ในสภาพที่ลำบาก และยากไร้ เราจะต้องทำเช่นไร?”

อิมามอะลี (อ) ได้ตอบแก่ฉันว่า “ในทุกๆ กิจการงานให้ตรวจสอบและกลั่นกรองให้ดีเสียก่อน เนื่องจากว่าหากบุคคลใดก็ตามที่เขายึดเหนี่ยวต่อการกลั่นกรอง และมีความพอดี ค่าใช้จ่ายต่างๆ ของเขาก็จะเบาตามไปด้วย ความเสียหายจะไม่มีวันเกิดกับบุคคลซึ่งเขามีการกลั่นกรอง และความพอดิบพอดีอย่างเด็ดขาด และความพอดิบพอดีจะไม่สร้างความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด”

ฉันได้ถามอิมามอะลี (อ) อีกว่า “ปัญหาความยากจนของประชาชน จะได้รับการแก้ไขด้วยการอดออม การประหยัด และละเว้นจาการฟุ่มเฟือย และใช้จ่ายอย่างพอดิบพอดีได้หรือไม่?”

อิมามอะลี (อ) ได้ตอบว่า “ใช่แล้ว การประหยัด และการใช้จ่ายอย่างพอดี คือผู้ช่วยเหลือที่ดีเลิศ สำหรับการใช้ชีวิตที่ดีกว่าอย่างแน่นอน บุคคลใดก็ตามที่อยู่กับการใช้จ่ายอย่างพอดี ความมั่งมีของเขาก็จะเป็นสิ่งนิรันดรสำหรับเขาเช่นกัน และการประหยัด และการใช้จ่ายอย่างพอดีจะสามารทดแทนความขาดแคลน และความยากไร้ของเขาได้อีกด้วย (และไม่ต้องสงสัยเลยว่าปัญหาทางเศรษฐกิจอีกหลายๆ เรื่องก็จะได้รับการแก้ไขตามไปด้วย)”

ณ วันนี้เราเห็นแล้วว่าในสังคมของเรา เป็นสังคมที่มีความสุรุ่ยสุร่ายกันอย่างมากมาย มีความสุรุ่ยสุร่ายในเรื่องพลังงานของประเทศชาติ อาธิเช่น น้ำ ไฟฟ้า น้ำมัน อาหารการกิน เสื้อผ้า ของใช้ในบ้านเรือน ความฟุ่มเฟือยในเวลาแต่ละชั่วโมง ความสุรุ่ยสุร่ายในทุกๆ เรื่องนี้คือที่มาของปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศชาติที่เราอาศัยอยู่ โดยเฉพาะปัญหาการใช้ชีวิตของมนุษย์เอง ค่าใช้จ่ายในแต่ละวันเพิ่มมากขึ้น หนี้สินก็มีมากขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง

มากไปกว่านั้นเมื่อมองไปยังการจัดงานแต่งงานก็ดี การจัดงานเลี้ยงสังสรรค์ก็ดี ทั้งสิ้นแล้วล้วนเป็นเรื่องที่มากเกินกว่าความจำเป็นทั้งสิ้น ทั้งๆ ที่ศาสนาอิสลามต่อต้านการสุรุ่ยสุร่าย การใช้จ่ายเกินความจำเป็นในทุกรูปแบบ เพื่อป้องกันปัญหาต่างๆ ที่จะติดตามมากับความฟุ่มเฟือยเหล่านั้น

ดังนั้นวันนี้ถึงเวลาหรือยังที่เราจะนำเอาคำสั่งสอนแห่งศาสนามาปฏิบัติในชีวิตประจำวันของเรา เพื่อการใช้ชีวิตที่ดีกว่า เพื่อปกป้องความยากจนของลูกๆ หลานๆ ในอนาคต ท่านอิมามญะอ์ฟัร ซอดิก (อ) กล่าวว่า “พวกเจ้าคิดหรือว่า สิ่งใดก็ตามที่พระผู้เป็นเจ้าได้ประทานให้กับผู้หนึ่งผู้ใด นั่นหมายความว่าสิ่งนั้นคู่ควรแก่เขาแล้ว และถ้าหากว่าพระองค์มิได้ทรงประทานสิ่งนั้นแก่ผู้ใด นั่นหมายความว่าผู้นั้นไม่คู่ควรแก่สิ่งนั้นหรือ?

พวกเจ้าเข้าใจผิดอย่างมหันต์ มันมิได้เป็นเช่นนั้นเลย ทรัพย์สินเงินทองทั้งหลาย คืออะมานะฮ์ (ของฝากให้ช่วยดูแล หรือความไว้วางใจ) จากพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งพระองค์ได้ทรงฝากไว้ในบางคน และพระองค์ได้อนุญาติแก่เขาให้เขานั้นได้ใช้ทรัพย์สินเหล่านั้นด้วยความพอดิบพอดี เมื่อเขามีความจำเป็นต่ออาหารการกิน การดื่ม แต่งงาน หรือซื้อรถยนต์ และสร้างบ้านเพื่ออยู่อาศัย และส่วนที่เหลือจากความจำเป็นของเขา เขาจำเป็นต้องแจกจ่ายแก่ผู้ยากไร้คนอื่นๆ

ดังนั้นบุคคลใดก็ตามที่เขาได้มีการจัดการกับอะมานะฮ์นี้อย่างถูกต้อง และไม่ฟุ่มเฟีอยเกินความจำเป็นของเขา ทรัพย์สินเหล่านั้นก็จะเป็นสิ่งอนุญาติสำหรับเขา แต่หากเขามีการจัดการกับอะมานะฮ์นี้ไม่ถูกต้อง นั่นคือเขามีความฟุ่มเฟือย ใช้จ่ายเกินความจำเป็น และตระหนี่ถี่เหนียวไม่หยิบยื่นแก่ผู้ยากไร้ ทรัพย์สินเหล่านั้นก็จะเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับเขาทันที เพราะพระองค์ทรงตรัสว่า “และจงอย่ามีความฟุ่มเฟือย”

พวกท่านคิดหรือว่า บุคคลหนึ่งที่เขามีความร่ำรวย แล้วเขาสามารถที่จะซื้อยานพาหนะราคาหนึ่งหมื่นดิรฮัม ในขณะที่เขามีความจำเป็นแค่ยานพาหนะราคาเพียงยี่สิบดิรฮัม??? หรือหากเขาเป็นคนที่มีเงินทองมากมาย แล้วเขาสามารถที่จะจัดงานแต่งงานอย่างยิ่งใหญ่ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายมากถึงหนึ่งพันดีนาร ในขณะที่เขาสามารถจัดงานแต่งงานได้โดยใช้งบประมาณไม่เกินยี่สิบดีนาร??? มิใช่เลย พระองค์ทรงตรัสว่า “และจงอย่ามีความฟุ่มเฟือย”

โอ้พี่น้องที่รักทั้งหลาย ลองใคร่ครวญ อ่านซ้ำแล้วซ้ำล่าวให้มากต่อรายงานข้างต้นของอิมามญะอ์ฟัร ซอดิก (อ) แล้วพี่น้องจะเข้าใจถึงความหมายของการประหยัด และความพอดิบพอดีในการใช้จ่ายของพี่น้องเอง

แปลและเรียบเรียงโดย เชคมาลีกี ภักดี